Luban คือโปรแกรมอะไร
เป็นโปรแกรมอเนกประสงค์ที่ใช้จัดการไฟล์ 3D Model ให้มีความหลากหลากหลากขึ้น แต่ไม่สามารถใช้โปรแกรมนี้ขึ้นแบบ 3D Model ได้โดยตรง ทำได้เฉพาะตกแต่ง เพิ่มเติมเล็กน้อย ดังนั้นผู้ใช้ต้องมีไฟล์ 3D มาก่อน (หรือภาพถ่ายสำหรับบางฟังก์ชี่น) ฟีเจอร์เด่นๆคือ
- ตัดแบ่งไฟล์ 3D ให้กลายเป็นส่วนๆ ตามพื้นที่ของเครื่อง 3D Printer พร้อมทำจุดเชื่อมต่อ (plug) ให้ด้วย – ฟังก์ชั่น Module
- สร้างไฟล์โครงถักจาก 3D Model – ฟังก์ชั่น 3D Wireframe
- แบ่งไฟล์เป็นส่วนๆ เพื่อใช้งานกับเครื่อง Laser Cutting – ฟังก์ชั่น 3D Stack/Hash
- สร้างไฟล์ 3D Lithophane จากภาพถ่าย – ฟังก์ชั่น Lithophane
- ทำให้ไฟล์ 3D Model กลายเป็นจิกซอร์ ที่ประกับเข้าด้วยกันได้พอดี – ฟังก์ชั่น Plate
โดยบทความนี้รีวิวเฉพาะที่เคยได้ใช้งาน เพราะฟีเจอร์จริงๆ ของตัวโปรแกรมมีเยอะมากๆ ไม่แพ้โปรแกรมราคาแพงเลย แถมการตั้งค่ามาตรฐานก็ใช้งานได้จริง ผู้ใช้ ไม่ต้องมาปรับแก้ หรือหาตัวเลขที่เหมาะสม เหมาะกับเป็นโปรแกรมติดเครื่องของชาว Maker และคนชอบทำของชำร่วยแจก ซึ่งทำได้ยาก และราคาแพงมากๆ หากไม่ใช้ 3D Printer และ Laser Cut






ส่วนราคา รายละเอียดตามหน้าเวบเลยสำหรับคนที่ต้องการสนับสนุนโปรแกรมตัวนี้
- ใช้ฟรีได้ แต่จำกัดไฟล์ 3D Model แค่ 5mb
- :ซื้อรายปี 1 ปี 60 USD
- ซื้อขาด 300 USD
- การศึกษาใช้ฟรี 6 เดือน แต่ต้องไปลงทะเบียนโดยอีเมลล์การศึกษาจริงก่อน
- ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ Luban
แนะนำฟีเจอร์ของ Luban ที่ได้ใช้งานบ่อย
Module สำหรับงานขนาดใหญ่
ปกติเครื่อง 3D Printer ที่ใช้กันในท้องตลาดขนาดมักมีขนาดการพิมพ์ไม่เกิน 30x30x30 cm หรือถ้าเครื่องคนเริ่มต้นก็จะอยู่ราวๆ 20x20x20 cm ซึ่งหากพิมพ์งานที่ใหญ่ขนาดนั้นก็ต้องตัดแบ่งเป็นส่วนๆ เอง ดังนั้นฟีเจอร์ Module จึงเข้ามาช่วยในส่วนนี้
- กำหนดพื้นที่การพิมพ์ของเครื่อง 3D Printer แล้วโปรแกรมแบ่งส่วนอัตโนมัติให้เลย
- ทำตัวสวมประกอบให้เรียบร้อย ไม่ได้ตัดแบบระนาบอย่างเดียว
- ทำ Label ตัวเลขระบุแต่ละชิ้นป้องกันความสับสนหากมีหลายๆชิ้น
- สามารถ Export เป็นไฟล์ .dxf และ .svg เพื่อเปิดในโปรแกรมอื่นได้ด้วย นอกจาก .stl ที่เป็นมาตรฐาน

สำหรับมือใหม่ที่ใช้งานก็ไม่ต้องกังวล แนะนำว่าให้ดูที่หมวด Output เลือกขนาดพื้นที่ที่ต้องการพิมพ์ต่อชิ้นได้เลย จากนั้นโปรแกรมจะจัดการให้เอง หากมีเวลาก็ค่อยศึกษาการปรับค่าเองเพิ่มเติม


- หากเปิดไฟล์ .stl ที่โปรแกรมทำมาให้จะพบ ส่วนของ slot เสียบ พร้อมเลขชิ้นงานมาให้เรียบร้อย เหมาะกับคนที่ต้องการพิมพ์งานใหญ่ๆ มีหลายชิ้น และไม่อยากไปเสียเวลาตัดงานเอง ทำ slot เสียบเอง
- ส่วนข้อเสียก็คือโปรแกรมใช้การตัดแบบเชิงตัวเลขตามระยะที่กำหนด ไม่ได้ดูว่าส่วนไหนควรตัดแบบใด เพื่อให้เวลาประกอบแล้วสวยงามมากที่สุด เช่น เวลาพิมพ์งานคน ก็ควรแยกส่วนเป็น ตัว แขน หัว ขา เพื่อมาประกอบกันทีหลัง ซึ่งแบบนี้ตัวโปรแกรมจะทำได้ยากพอสมควร

- ตัวอย่างงานที่พิมพ์แบบชิ้นเดียว และแบบตัด
- ถ้าพิมพ์ได้ภายในถาดเดียว ครั้งเดียว ยังไงก็สะดวกที่สุด ไม่จำเป็นต้องตัดแบ่ง


Wireframe สำหรับทำของตกแต่งเก๋ๆ และเฝือกเทียม
ฟีเจอร์นี้เคยเห็นในโปรแกรมอื่นมาบ้างแล้ว แต่ใน Luban จะง่ายกว่าตัวอื่น โดยโปรแกรมจะสร้างโครงถัก (Wireframe) วิ่งตามผิวของชิ้นงาน 3D Model ที่นำเข้ามา โดยผู้ใช้สามารถกำหนดขนาด ความถี่ และความกลวงเองได้ ซึ่งหากใครอยากทำไว้ใส่ของ ใส่อุปกรณ์เครื่องเขียน สามารถทำได้โดยตัดส่วนบนออก เพื่อทำเป็นช่องใส่ของได้ (ใช้คำสั่ง Split ในโปรแกรม)



Stack and Hash ทำตัวต่อของเล่นง่ายๆ
ฟังก์ชั่นนี้ผู้เขียนไม่ได้ใช้งานมาก เนื่องจากไม่มีเครื่อง Laser Cut และไม่เหมาะกับการขึ้นงานด้วยเครื่อง 3D Printer โดยฟีเจอร์นี้จะทำหน้าที่หั่นไฟล์ 3D Model ของเราออกเป็นชั้น ตามความหนาและขนาดกว้างxยาว ที่เราตั้งไว้ (ใครใช้แผ่น 4×6 ฟุต) ก็ตั้งจากตรงนี้ได้เลย ดังนั้นงานที่พื้นที่หน้าตัดเท่ากันหมด จะเหมาะกับ Laser Cut มากก่า ส่วนผู้เขียนก็ลองหั่นเพื่อใช้กับ 3D Printer ดูก็ไม่ค่อยสวยเท่าไหร่


คนที่ใช้ Laser Cut ก็ไม่ต้องห่วง เรื่องชิ้นงานเยอะ จำไม่ได้ หรือทำงานลำบาก เนื่องจากหลังจาก Export มาแล้วจะมีไฟล์ .dwg .svg และอีกหลายนามสกุลใช้งาน กับตัวเลขจำนวนชั้นการประกอบให้เสร็จสรรพ พร้อมเอาไปขึ้นเครื่องยิงได้เลย

อีกฟีเจอร์นึงที่ใกล้เคียงกัน คือ Hash แต่จะมีความซับซ้อนมากกว่า คือแต่ละชิ้นจะประกอบเข้าด้วยกัน ดังนั้นหลังจากไปยิง Laser Cut เสร็จ ก็เป็นงานยากของผู้ใช้แล้ว ที่ต้องประกอบแต่ละชิ้นเข้าด้วยกัน แนะนำว่าก่อนลงมือ ถ่ายรูปสำเร็จไว้ก่อน โดยผู้ผลิตให้เลขจำนวนชั้นไว้ ก็พอช่วยในการประกอบได้

Lithoplane ทำภาพถ่ายให้กลายเป็นของที่ประทับใจมากขึ้น
เป็นสิ่งที่หลายคนอยากได้มากคือแปลงข้อมูลจากภาพถ่ายที่ประทับใจ ให้กลายเป็น 3D Model ที่ปริ้นได้ ซึ่งหากเป็น Full 3D Model ที่มีรายละเอียดครบรอบด้านนั้น ไม่สามารถทำได้ แต่สิ่งที่ฟังก์ชั่น Lithoplane ทำได้ คือเอาภาพถ่ายมาเพิ่มมิติความลึก-นูน โดยอาศัยความแตกต่างของ Contrast ภาพ สร้าง 3D Model ขึ้นมา


หลังจากปริ้นเสร็จโดยใช้เวลาประมาณ 6-7 ชั่วโมง สำหรับขนาด 20×15 cm ตัวชิ้นงานปกติหากใช้สีขาวก็จะไม่ค่อยเห็นอะไรมาก แต่ถ้าเอาไปส่งกับโคมไฟ จะเห็นภาพ 3 มิติ ขึ้นมาตามภาพ


ซึ่งทางผู้ผลิตก็เตรียมฟังก์ชั่นทำโคมไฟตั้งโชว์มาให้พร้อม เหมาะกับการทำเป็นของชำร่วย ที่มีชิ้นเดียวแจกอย่างมาก

สรุป
เป็นการรีวิวฟีเจอร์ที่ได้ใช้งานบ่อยๆ ของ Luban ซึ่งผู้เขียนแนะนำว่าหากมีงบก็ลองซื้อมาใช้ซัก 1 ปี เพื่อสนับสนุนผู้พัฒนา ให้ออกฟีเจอร์อะไรใหม่ๆมากขึ้น