Elegoo แบรนด์ใหม่ที่เข้าสู่ตลาด Resin 3D Printer
Elegoo สร้างชื่อโดยการขายเครื่องราคาถูกผ่าน Platform ที่ใหญ่ที่สุดในโลกช่องทางเดียวคือ Amazon ด้วยบริการหลังการขาย และคุณภาพของสินค้า จึงมีผู้ใช้จำนวนมากขึ้นเรื่อย ทั้งๆ ที่มีเครื่องแค่รุ่นเดียว ซึ่งรุ่นก่อนหน้านั้นก็มีข้อด้อยหลายตัวที่ Elegoo นำไปปรับปรุงเพื่ออกเป็นรุ่น Pro แถมแทบไม่มีการปรับราคาขึ้นเลย ซึ่งถือว่าเป็นข้อดีของผู้ใช้ ที่ได้เครื่องที่ประสิทธิภาพดีขึ้นในราคาเท่าเดิม

แกะกล่องดูส่วนที่มีการปรับปรุงจาก Elegoo Mars
Elegoo สร้างชื่อโดยการขายเครื่องราคาถูกผ่าน Platform ที่ใหญ่ที่สุดในโลกช่องทางเดียวคือ Amazon ด้วยบริการหลังการขาย และคุณภาพของสินค้า จึงมีผู้ใช้จำนวนมากขึ้นเรื่อย ทั้งๆ ที่มีเครื่องแค่รุ่นเดียว ซึ่งรุ่นก่อนหน้านั้นก็มีข้อด้อยหลายตัวที่ Elegoo นำไปปรับปรุงเพื่ออกเป็นรุ่น Pro แถมแทบไม่มีการปรับราคาขึ้นเลย ซึ่งถือว่าเป็นข้อดีของผู้ใช้ ที่ได้เครื่องที่ประสิทธิภาพดีขึ้นในราคาเท่าเดิม




แกน Z
แกน Z ของตัว Pro เปลี่ยนมาใช้ Linear rail แทนระบบล้อโลหะ ทางทฤษฎีแรงเสียดทานจะต่ำกว่า การเคลื่อนที่ขึ้นลงไหลลื่นและแม่นยำ ดังนั้นผิวงานจะสมูทมากยิ่งขึ้น
ระบบฉายแสง (LED Power)
เปลี่ยนมาใช้ระบบ Array ที่มีที่มีแสงทุกจุด ต่างจากเดิมที่มีแสงเพียงจุดเดียวแล้วใช้โคม Reflector กระจายแสงทั้งพื้นที่พิมพ์ ดังนั้นระบบแบบใหม่แสงจะมีความเข้มใกล้เคียงกัน 90-95% ทั้งพื้นที่ (ของเดิมอยู่ที่ประมาณ 80-85%) ทำให้สามารถพิมพ์จนถึงขอบฐานพิมพ์ได้ง่ายขึ้น ส่วนที่ดีกว่า Phrozen คือมีตัวกั้นแสง UV ไม่ให้ลอดออกข้างๆ (สีดำๆตามภาพ เหนือฮีทซิงค์ระบายอากาศ) ซึ่งอาจจะทะลุผ่านเครื่องไปแยงตาผู้ใช้ จุดนี้น่าชื่นชมเรื่องการดีไซน์
ฐานพิมพ์ (Buildplate)
มีการปรับปรุง 2 จุดคือ
- บริเวณพื้นที่พิมพ์ใช้การขัดอลูมิเนียมให้มีผิวความหยาบ แทนการใช้ Powder Coat ซึ่งอาจจะมีหลุด หรือสึกหรอเมื่อใช้งานไปสักพัก ถ้าสัมผัสจะพบว่าผิวของใหม่เป็นสากๆ ไม่ได้เรียบแบบที่เห็นในภาพ
- น๊อตล๊อกตัว Ball-Joint ที่เป็นปัญหาจากรุ่นเดิม ที่มีอาการล๊อกไม่อยู่ ขันยาก เกลียวหวาน ตอนนี้เปลี่ยนขนาดใหญ่ขึ้น 2 เท่า ทำให้แข็งแรงและสะดวกในการ Calibrate มากกขึ้น
ถาดพิมพ์ (VAT, Resin Tank)
- ตัวถาดเรซินส่วนที่ปรับปรุงแบบเห็นได้ชัดคือ มีระดับบอกปริมาณเรซินสูงสุดที่ใส่ได้ และมีการไล่ Step ของถาด ทำให้ใส่เรซินได้มากขึ้น ต่างจากของเดิมที่เป็นเรียบๆ อีกเรื่องคือจะมีแผ่นฟิล์มป้องกันมาให้ด้วย
- ส่วนของ Elegoo ที่น่าชมคือหลายยี่ห้องมักใช้น๊อตตัวเล็กๆในการยึด FEP Film ซึ่งบางครั้งจะเกิดอาการเกลียวหวาน ถ้าประแจขนาดไม่พอดี เป็นปัญหายุ่งยากและใช้เวลาแก้ไขพอสมควร แต่แบรนด์นี้ใช้น๊อตแสตนเลสตัวใหญ่ ลดปัญหาได้แน่นอน
งานประกอบส่วนจอ
มีการเพิ่มร่องสำหรับแกะจอ LCD เข้ามา ช่วยให้การเปลี่ยนจอง่ายขึ้น จากแต่ก่อนต้องหามุมแงะจอกันเอง ตอนเปลบี่ยน ส่วนบริเวณใกล้ๆกันจะมีช่องระบายอากาศสำหรับดูกลิ่นภายในออกำ

ฝาปิดมีซีลยาง
ในกล่องจะมีอุปกรณ์ที่เป็นซีลยาง ผู้ใช้ต้องเอามาประกอบกับตัวฝาอะคริลิกช่วยในการป้องกันการกระแทกกับตัวเครื่องตอนปิด และช่วยป้องกันกลิ่นออกจากเครื่องได้ดีขึ้น

ทดลองงานพิมพ์
ขั้นตอนการปริ้นก็เหมือนเดิมคือใช้ Chitubox เป็นสื่อกลางในการแปลงไฟล์ 3D Model ให้กลายเป็นไฟล์สำหรับสั่งปริ้น โดยในตัวโปรแกรมมี Profile ของเครื่องมาให้เรียบร้อย

การตั้งค่าสำหรับความละเอียด 50 ไมครอน ซึ่งเป็นค่ามาตรฐาน เวลาฉายแสงสามารถลดลงได้จนถึงราวๆ 5.8-6.5 วินาที สำหรับคนที่ต้องการายละเอียดเพิ่มมากขึ้น และงานไม่ใหหญ่มาก

สำหรับไฟล์ทดสอบมาตรฐานของเราก็หน้าตาเดิมๆ กลุ่มจิวเวรี ที่ทดสอบเรื่องผิว รายละเอียด ความคมชัด โดบใช้เวลาปริ้นไม่เกิน 3 ชั่วโมง

ผลการพิมพ์
หลังจากปริ้นและล้างเสร็จ โดยงานนี้เราใช้เครื่อง Anycubic Wash & Cure ช่วยให้สะดวกยิ่งขึ้น โดยขอลงรูปเพื่อให้ผู้อ่านได้พิจารณาก่อนที่จะสรุปอีกที
สรุป
- จากที่รีวิวและปริ้นงานขนาดเล็ก ยังไม่เห็นความแตกต่างกับตัวเดิมแบบชัดเจน ดังนั้นการเปลี่ยนมาใช้แกน Z Linear Rail น่าจะเหมาะกับคนปริ้นงานสูงๆมากกว่างานเล็ก
- ค่า Default ของโปรแรกมตั้งไฟมาสูงเกินไปถึง 7 วินาที ซึ่งเพียง 6 วินาทีก็เพียงพอแล้ว อีกจุดหนึ่งควรตั้งแต่ Delay เป็น 2 วินาที จากเดิม 0 วินาที จะลดปัญหารอยขีดเป็นเส้นตรงตามชิ้นงานที่เห็นบางภาพได้
- ตัวเครื่องแข็งแรง ใช้งานง่ายและสะดวกขึ้น จากการที่ผู้ผลิตรับฟังความเห็นของผู้ใช้
- งานประกอบ QC ดี เครื่องทั้งหมดที่เราได้มา Zero Defect ส่วนการใช้งานระยะยาว ต้องวัดผลกันอีกที
- น่าเสียดายที่เป็นจอแบบปกติ 2K หากเป็น Monochrome น่าจะช่วยให้ปริ้นไวขึ้นอย่างน้อย 2 เท่า
- เป้นเครื่องสำหรับคนที่ต้องการเครื่องคุณภาพราคาเริ่มต้น และไม่ได้ต้องการความรวดเร็วมาก (หากใครต้องการเครื่องเร็วแนะนำ Sonic Mini ในราคาใกล้เคียงกัน)