ยุคของจอ Monochrome
Phrozen Sonic Mini 4K เป็นเครื่องที่อัพเกรดจากรุ่นเดิม เปลี่ยนจอจาก 5.5″ Mono Full HD เป็น 6.1″ Mono 4K ดังนั้นจึงได้ความละเอียดในแนวแกน XY ถึง 35 ไมครอน (หรือ 722 PPI) ส่วนอื่นๆที่เพิ่มเติม ดูได้จากภาพเปรียบเทียบด้านล่าง
Phrozen เป็นต้นฉบับการเอาจอ Monochrome เข้ามาใช้ในเครื่อง 3D Printer เจ้าแรกๆ ตั้งแต่เมื่อปี 2018 (รุ่น Sonic) ในขณะที่ผู้ผลิตรายอื่นยังอยู่ที่การผลิตจอแบบปกติ จนปัจจุบัน (2020) เทคโนโลยีเริ่มทันกัน ดังนั้นหลังจากนี้เครื่องแทบทุกยี่ห้อจะเป็นจอแบบ Monochrome ทั้งหมด
แกะกล่อง Phrozen Sonic Mini 4K
ปัจจุบันแทบจะทุกเครื่อง ทุกยี่ห้อ มีอุปกรณ์พร้อมใช้งานมาในกล่องทั้งหมด (ส่วนใหญ่จะขาด IPA สำหรับการล้าง และเรซินแถม/ตัวอย่าง) ดังนั้นสบายใจได้ว่าซื้อแล้วงบจะไม่บานปลาย ส่วนอุปกรณ์ที่ควรซื้อเพิ่มเติม ดูได้จากในบทความนี้ “10 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ควรมี สำหรับเครื่อง SLA 3D Printer“
สิ่งที่เปลี่ยนไปจากเดิม
Soni Mini 4K 90% ของตัวเครื่องเหมือนเดิมทั้้งหมด สามารถอ่านรีวิวตัวเก่าอย่างละเอียดได้ที่ลิ้้งนี้ (คลิก) รีวิวนี้เน้นไปที่ความละเอียดของจอ 4K ที่หลายท่านอยากทราบว่าดีขึ้นมาก-น้อย เพียงใด
2. ถาดพิมพ์ (Build Plate) ที่ตัว Sonic Mini เดิมเป็นเหล็กแบนๆ ดูแล้ว low cost ก็เปลี่ยนเป็นเหมือนรุ่นพี่แล้วคือมีมุมเอียงลาดเท ช่วยตอนทำความสะอาดได้ดีกว่าเดิมเยอะ อีกเรื่องที่ปรับปรุงคือตัวเดือยล๊อก และหยุดฐานให้ได้ระยะ เปลี่ยนมาเป็นล๊อก 2 ตำแหน่งแล้ว ลดปัญหากันคลอนได้ดีขึ้น
3. ถาดเรซินที่ตัวเดิมเปลี่ยนมา 2 รอบ คือพลาสติกแดง เป็นอลูมิเนียม ก็ปรับปรุงให้ดูสวยงามมากขึ้น มีมุมลาดเท ช่วยในการเก็บเรซิน แต่น่าจะทำมุมใดมุมหนึ่งให้เป็นหลุม จะได้เทง่ายสุด

4. หน้าจอที่เป็นไฮไลท์มากที่สุด Monochrome 4K 6.1″ ที่อัพเกรดมาไกลมากจากรุ่นเดิมคือ 5.5″ Full HD ดูไม่ต่างกันเลย ความหนาก็เท่าเดิม
5. ส่วนด้านหลังเหมือนเดิมหมด เพิ่มเติมคือมีพัดลมติดตั้งมาให้เรียบร้อย

6. หน้าจอผู้ใช้งานเปลี่ยนให้อ่านง่าย สวยงามขึ้นเล็กน้อย หน้าจอ TOOLS มีการจัดเรียง เพิ่มคำสั่งใหม่คือ VAT CLEANING ซึ่งงเป็นการฉายแสงทั้้งหมด เหมือน LCD Test


อุปกรณ์อื่นๆ
การแกะเครื่องก็สะดวกมาก เพียงขันน๊อต 4 ตัว ด้านใต้เครื่องก็จะเห็นอุปกรณ์ทุกชิ้นด้านในประกอบไปด้วย
- Chitu Board
- Chitu Touch Screen
- Para LED unit
- Z Motor

เป็น Chitu V2.0.3 ซึ่งก็น่าจะเหมือนกันทุกเครื่อง แปลว่าทุกเครื่องมีแนวโน้มจะอัพเกรดเป็นจอ 4K ได้หมด
Sonic Mini 4K มาพร้อมพัดลมดูดอากาศเข้า 1 ตัว แบบเบาๆ ตอนใช้งานเสียงไม่ดัง รุ่นเก่าจะไม่มีมาให้
แผง ParaLED เป็นรุ่น 2.0 lite ซึ่งจะแสงน้อยกว่าและไม่มีฮีทซิงค์ใหญ่ๆ เหมือนรุ่น 3.0 (รุ่น Sonic, Sonic 4K และ Sonic XL 4K)
Adapter ที่ให้มากำลังไฟ 48W
การตั้งค่าในโปรแกรม Chitubox
ปัจจุบัน (กันยายน 2560) โปรแกรม Chitubox 1.6.5.1 ยังไม่มีโปรไฟล์ของ Sonic Mini 4K (คุยกับ Developer แล้วบอกออกสิ้นเดือนกันยายน) ดังนั้นจึงต้อง Import ข้อมูลเครื่องจากผู้ผลิต ซึ่งให้มาใน Flashdrive มือใหม่ก็คง งงเล็กน้อยถ้าไม่เคยใช้มาก่อน ซึ่งผู้ผลิตให้ไฟล์ pdf ตั้งค่าอย่างละเอียดมาให้เรียบบร้อย
การตั้งค่าการฉายเรซินจากโรงงาน ถือว่าเน้นความไวเป็นหลัก ใช้เวลาฉาย 1.5 วินาที/ชั้น ที่ 50 ไมครอน เหมาะกับงานเล็กๆ หรือพวกจิวเวรี ที่ต้องการความคมชัด น้ำหนักไม่มาก

ส่วนค่าที่เราใช้เน้นพิมพ์สำเร็จแน่นอน ทดลองแล้วกับชิ้นงานที่มีน้ำหนัก 150g ในการพิมพ์ครั้งเดียว จะอยู่ที่ 3 วินาที/ชั้น 50 ไมครอน เวลาที่ฐานควรอยู่ระหว่าง 35-40 วินาที/ชั้้น หากปริ้นเต็มพื้นที่ควรใช้ค่านี้แทน (ในภาพเป็น 2.5 วินาที)

โดยชิ้นงานทดสอบหลักในครั้งนี้มีตั้งแต่ ฟิกเกอร์ จิวเวรี งานทั่วไป ที่เราใช้ทดสอบกับรุ่นก่อนหน้านั้น เพื่อนำมาเปรียบเทียบกัน เวลาที่ใช้ในการปริ้นอยู่ที่ 120 นาที ความละเอียด 50 ไมครอน ขั้นตอนอื่นๆก็เหมือนเครื่องทั่วไป คือ ตั้งระนาบฐาน เทเรซิน สั่งปริ้นไฟล์จากหน้าเครื่อง

ผลการพิมพ์ทดสอบ Phrozen Sonic Mini 4K
เปรียบเทียบงานระหว่าง Phrozen Sonic (xy 62.5 ไมครอน) กับ Mini 4K (xy 35 ไมครอน) โดยให้ดูเปรียบเทียบ แล้วจะสรุปในตอนท้าย
สรุป
ด้วยความแตกต่างกันของพิกเซลถึงเกือบ 2 เท่า (63 vs 35 micron) ทำให้บริเวณส่วนโค้งของพวก 3D Model เห็นเป็นวงๆ น้อยลงเมื่อใช้จอระดับ 4K (35 micron) ส่วนข้อสังเกตอื่นสรุปได้ตามนี้
- ผลทดสอบบทความนี้ในส่วนของ Mini 4K ยังใช้ความสามารถไม่เต็มประสิทธิภาพ สังเกตได้จากงานบางชิ้นยังมีความเงาๆ เนื่องจากฉายแสงมากเกินไป หากได้จุดที่เหมาะสมน่าจะดีขึ้นอีกจากบทความนี้
- เป็นเครื่องที่อัพเกรดข้อด้อยจากรุ่น Sonic Mini ทุกส่วน ในราคาที่ไม่ได้เพิ่มขึ้นมาก เหมาะกับคนที่มีงบประมาณรวมทุกอย่างประมาณ หมื่นกลางๆ และต้องการได้เครื่องที่ดีที่สุด
- จอ 4K เห็นผลแตกต่างจากจอ full hd ในระดับหนึ่ง และน่าจะเเป็นเครื่องถูกที่สุดในท้้องตลาด ที่ผลิตชิ้นงานได้ในระดับนี้ ส่วนถ้าเทียบกับ 2K Mono รอรีวิวถัดไป (Mini 4K VS Mars 2 Pro)
- ใครที่ใช้ Shuffle 4K อยู่ แนะนำว่าเป็นตัวเลือกที่ดี หากจอเสียแล้ว เนื่องจากราคาอะไหหล่จอ แทบจะซื้อเครื่องได้แล้ว
- ใครที่ใช้ Sonic Mini อยู่ แนะนำว่ายังไม่ต้องเปลี่ยน ยกเว้นเครื่องเสีย หมดประกัน แล้วอยากลองเทคโนโลยีระดับ 4K
- เวลาฉายแสงของ Mini 4K น้อยกว่า Mini Full HD อยู่ราววๆ 10-20% ดังนั้น ต้องใช้เวลานานขึ้น ในส่วนนี้อาจขึ้นกับบเรซินด้วย ที่ต้องทดสอบกันต่อไป
ใครสนใจดูข้อมูลเพิ่มเติมของเครื่องได้ที่