หัวข้อหลัก
การทำงานของเครื่อง Resin 3D Printer
เครื่องพิมพ์สามมิตินอกจากการเตรียมไฟล์ และสั่งพิมพ์แล้ว ขั้นตอนหลังการพิมพ์ (Post Processing) ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน ซึ่งเครื่องแบบเรซินค่อนข้างจะมีวิธีการที่ยุ่งยากกว่าเครื่องระบบเส้น (Filament) หรือระบบผงพลาสติก (Powder) โดยบทความนี้กล่าวรวมเกี่ยงกับการล้างทำความสะอาด โดยแต่ละยี่ห้ออาจจะมีกระบวนการหรือชั้นตอนที่แตกต่างกันออกไปในรายละเอียดปลีกย่อย สามารถสอบถามได้ที่ผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่าย
Normal Resin
เรซินกลุ่มทั่วไปที่ใช้งาน สำหรับขึ้นต้นแบบ โมเดล ฟิกเกอร์
- ตามแบรนด์ Phrozen, Anycubic, Zotrax, Prusa
- ตามชนิด ABS-Like, HD, Water-washable, PLA, Plant-bases
- ใช่ IPA ฉีดล้างไปที่ชิ้นงานให้เรซินออกให้มากที่สุด
- แกะชิ้นงานจากฐานพิมพ์ แช่ใน IPA ประมาณ 20-30 วินาที เขย่าเพื่อช่วยให้เรซินออกให้มากที่สุด
- นำชิ้นงานมาเป่าให้แห้ง โดยเฉพาะจุดที่อยู่ด้านใน
- บางผู้ผลิตแนะนำให้ล้างด้วยน้ำเย็นอีกที
- เรซินกลุ่มนี้หากใช้ตู้อบ UV มาตรฐาน 40W ใช้เวลาเพียง 3-5 นาที เรซินจะแข็งตัวสมบูรณ์
- ควรสลับด้าน หรือมีถาดหมุนเพื่อให้แสงสม่ำเสมอทุกด้าน
- หากชิ้นงานกลวง ควรทำช่องเพื่อให้แสง UV สามารถส่องเข้าไปได้
- อุณหภูมิในห้องอบไม่จำเป็นสำหรับเรซินในกลุ่มนี้
- การตัด Support ไม่มีขั้นตอนแน่นอน บางกรณีสามารถตัดได้ตั้งแต่ขั้นตอนการล้าง เพราะแกะออกได้ง่ายกว่า (เรซินบยังไม่แข็ง)
- หากอบแล้วตัด Support ควรตัดห่างจากชิ้นงานเล็กน้อย จากนั้นใช้กระดาษทรายขัด
- ขัดบริเวณส่วนที่เป็น Support ให้เรียบ
- ควรลงรองพื้น เพื่อให้สีติดแน่น และสม่ำเสมอกว่าการพ่นไปที่ตัวชิ้นงานโดยตรง

Engineering Resin
เป็นเรซินที่มีสมบัติเหนียว ทนทานกว่าเรซินแบบปกติ ดังนั้นจึงทนต่อการดัดงอ กระแทก หรือนำไปเจาะทำเกลียวได้ โดยชิ้นงานไม่เสียหาย มักแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่
- เรซินที่คล้าย ABS ตัวอย่างเช่น Tough Resin, Siraya Blu, Phrozen Tr250LV, Phrozen Nylon
- เรซิน Flexible ดัดงอได้มากกว่าติ ยืดดึงได้เกิน 100%
- เรซินทนร้อนในระดับ 200-300 องศาเซลเซียส
- เหมือนเรซินทั่วไป แต่เรซินกลุ่มนี้รวมๆ จะมีความหนืดมากดัง นั้นการล้างจะลำบากกว่า
- ใช่ IPA ฉีดล้างไปที่ชิ้นงานให้เรซินออกให้มากที่สุด
- แกะชิ้นงานจากฐานพิมพ์ แช่ใน IPA ประมาณ 30-60 วินาที เขย่าเพื่อช่วยให้เรซินออกให้มากที่สุด
- นำชิ้นงานมาเป่าให้แห้ง โดยเฉพาะจุดที่อยู่ด้านใน
- เรซินกลุ่มนี้หากใช้ตู้อบ UV มาตรฐาน 40W ใช้เวลาเพียง 30-60 นาที เรซินจะแข็งตัวสมบูรณ์
- ควรสลับด้าน หรือมีถาดหมุนเพื่อให้แสงสม่ำเสมอทุกด้าน
- หากชิ้นงานกลวง ควรทำช่องเพื่อให้แสง UV สามารถส่องเข้าไปได้
- ผู้ผลิตหลายรายแนะนำ ให้มีความร้อน 50-60 องศาเซลเซียส ขณะอบจะช่วยให้ชิ้นงานแข็งแรงขึ้นมาก บางกรณีแข็งขึ้น 2 เท่า
ควรศึกษา MSDS และ Technical Data แต่ละยี่ห้อให้ละเอียดเพราะมีความต่างกันมาก

Bluecast Resin
เป็นเรซินหล่อ (Wax Resin) ที่มาพร้อมน้ำยาอบในตัว หรือถ้าไม่มีก็ใช้กลีเซอรีน หาซื้อได้ตามร้านขายเคมีทั่วไป
- ไม่ควรจุ่มชิ้นงานใน IPA โดยตรง
- สีของเรซินแตกต่างไปตามรุ่น หรือลิตการผลิต ปัจจุบันสีม่วงไม่มีแล้ว จะออกสีฟ้าใสๆ พออบแล้วจะเข้มขึ้นตามภาพเดิม
- X10 จะเป็นสีขาว ดังนั้นจะมองรายละเอียดยากกว่า

Castable Resin
- หรือเรซิน Wax อื่นๆ มีขั้นตอนที่คล้ายกัน คือไม่ควรจุ่มชิ้นงานลงใน IPA โดยตรง หรือน้อยที่สุด เพื่อป้องกันงายเสียหาย
- ขั้นตอนการอบ หลายยี่ห้อแนะนำให้แช่ชิ้นงานในกลีเซอรีนและอบยูวีไปด้วย เพื่อให้ชิ้นงานแข็งสมบูรณ์ ลดปัญหาการหดตัว
- ควรมีถาดหมุนภายในที่อบ หรือมีแหล่งกำเนิดแสงทุกทิศทาง
อุปกรณ์ช่วยการล้างและอบ
- Anycubic Wash and Cure เป็นเครื่องล้างและอบภายในตัว ราคาไม่แพง เหมาะกับคนเริ่มต้น มีข้อเสียตรงที่แสง UV ค่อนข้างเบา ไม่เหมาะกับการอบชิ้นงานเรซิน Wax จิวเวรี และไม่มีระบบให้ความร้อนที่ฐาน เหมาะกับการใช้งานเรซินทั่วๆไป

2. Formlabs Wash & Cure เครื่อง Post Processing ที่ครบครันทุกอย่าง เสียตรงที่ราคาของระบบค่อนข้างสูง
